บทที่ 5 การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ




1.การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมด
            1.ความสำคัญของการใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการแบบเทเท็กซ์โหมด (Text Mode)
หัวข้อนี้ขอกล่าวถึงโปรแกรมจัดระบบงาน (เอ็มเอสดอส :MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมดของบริษัทไมโครซอฟต์ ทำหน้าที่จัดระบบงานต่างๆ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการทำงานสูงทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เครื่องได้สะดวกและง่ายขึ้น โปรแกรมจัดระบบงานเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ส่วนประกอบหลักของโปรแกรมจัดระบบงาน (MS-DOS)
2.1ส่วนที่ควบคุมอุปกรณ์ (IO.SYS)
2.2ส่วนที่จัดการเกี่ยวกับคำสั่ง (MS-DOS.DYS) จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรม
2.3 ส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ZCOMMAND.COM)รับคำสั่งจากผู้ใช้และส่งต่อให้โปรแกรมควบคุมเครื่องทำงาน
โปรแกรมทั้ง3ส่วนนี้ จะทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมระบบไมโครคอมพิวเตอร์
3.ประเภทของคำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน (MS-DOS)
ประเภทของคำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน มี 2 ประเภท คือ    
3.1 คำสั่งภายใน (Internal Command)
            หมายถึง คำสั่งที่เมื่อBootเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกใช้คำสั่งได้ทันที เช่น คำสั่ง DRI TYPECOPYDEL,VERVOL เป็นต้น
                            3.2คำสั่งภายนอก (External Command)
            หมายถึง ไฟล์คำสั่งที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์ เวลาที่จะเรียกใช้คำสั่งภายนอกนี้ จะต้องมีแผ่นดิสก์ บรรจุไฟล์คำสั่งเหล่านี้จะต้องอยู่ในเครื่องทุกครั้ง ไฟล์คำสั่งประเภทนี้มีนามสกุล .COM, .EXE เช่นคำสั่ง Format. Com,Diskcopy.comUndelete.exe เป็นต้น
4.การทำงานกับโปรแกรมจัดระบบงาน
4.1ขั้นตอนการทำงานของดิสก์ไดรฟ์
1.คลิกที่ปุ่ม Stsrt
2.คลิกเมาส์วางเคอร์เซอร์
3.พิมพ์คำสั่ง cmd (พิมพ์ตัวเล็กหรือพิมพ์ตัวใหญ่ก็ได้)แล้วกดปุ่มEnter
4.ปรากฏหน้าต่างPrograms

5.ปรากฏหน้าต่างการใช้โปรแกรมDOSชั่วคราว
6.ทดลองพิมพ์คำสั่ง d ตามด้วยเครื่องหมายอ่านว่า โคลัน เช่น d: แล้วกดปุ่มEnter
7.แสดงเครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งจะเปลี่ยนเป็นไดรฟ์ D:\>

 จากขั้นตอนการเปลี่ยนไดรฟ์จากไดรฟ์C:\Users\admin>_เปลี่ยนเป็นไดรฟ์D:\>_ให้ทดเปลี่ยนจากไดรฟ์D:เป็นไดรฟ์C: แล้วกดปุ่มEmter
ความหมายของเครื่องหมาย
C:\>_อ่านว่าซี-พร้อมท์
D:\>_อ่านว่า ดี-พร้อมท์
ตัวอักษรC,D  หมายถึง แสดงไดรฟ์ที่ใช้งานอยู่
เครื่องหมาย:\  หมายถึง PATH แสดงทิศทางการค้นหาไฟล์
เครื่องหมาย>  หมายถึง เครื่องหมาย PROMPT (พร้อมท์) คือ เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่งจากผู้ใช้งาน
4.2 ขั้นตอนการตั้งชื่อไฟล์ในระบบปฏิบัติการMS-DOS
การตั้งชื่อไฟล์ในระบบปฏิบัติการดอส เรียกระบบการตั้งชื่อว่า ระบบ 8.3 คือ ตั้งช่อไฟล์ไม่เกิน 8 ตัวอักษร และส่วนขยายไม่เกิน 3ตัวอักษร จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1.ชื่อไดฟร์ เป็นตัวอักษรตัวเดียว เช่น A-Z ตามด้วยเครื่องหมาย(Colon) เช่น A:,C:,D:
2.ชื่อไฟล์ประกอบด้วยตัวอักษรไม่เกิน 8 ตัว และไม่มีช่องว่างคั่นตรงกลาง อักษรที่ใช้คือA-Z ,0-9 และสัญญาลักษณ์พิเศษอื่นๆยกเว้นสัญลักษณ์14ตัวคือ. “ / \ [ ]:|< > + ; ,=
3. ส่วนขยายที่บอกชนิดของไฟล์ ประกอบด้วยตัวอักษรไม่เกิน 3 ตัว จะคั่นด้วยจุด (.)
4.3 การใช้เครื่องหมายและ*
             กรณีต้องการให้คำสั่งในMS-DOS มีผลกับไฟล์มากกว่าหนึ่งขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมาย
? แทนตัวอักษรใดก็ได้ 1 ตัว
                        * แทนตัวอักษรใดก็ได้ กี่ตัวก็ได้
การอ้างชื่อไฟล์ในลักษณะดังกล่าว สามารถใช้ได้ทั้งชื่อไฟล์และส่วนขยายโดยใช้จุดคั่น
ตัวอย่างเช่น DIR *.COM,DIR T??N.DOC เป็นต้น
4.4การใช้คำสั่ง DIR แสดงชื่อไฟล์ทั้งหมดในดิสก์
    การใช้คำสั่ง DIR [D:] [Filename.ext] / P /W
             D:            คือ ชื่อไดฟร์ที่บรรจุดิสก์ที่ต้องการดูรายชื่อไฟล์
              Filename คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการจะดู หากไม่ระบุจะแสดงชื่อไฟล์ทั้งหมด
Ext คือ ชนิดของไฟล์(Extension)
/P    คือ เป็นการแสดงชื่อไฟล์ที่ละ 1จอภาพ
/W  คือ เป็นการแสดงชื่อไฟล์ทั้งหมด จะแสดงเฉพาะชื่อไฟล์.ส่วนขยาย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DIR
1.       ต้องการแสดงชื่อไฟล์ทั้งหมดในดิสก์ พิมพ์คำสั่งอยู่ที่ไดฟร์  D:\>_ DIR
แล้วกดปุ่ม Enter  ดูผลลัพธ์บนจอภาพ
2.       ต้องการแสดงรายชื่อไฟล์ครั้งละ1 จอภาพ
 DIR /P แล้วกดปุ่ม Enter ดูผลลัพธ์บนจอภาพแล้ว
กดปุ่มEnter ไปเรื่อยๆ จนขึ้นเครื่องหมาย D:\>_
3.  ต้องการแสดงเฉพาะชื่อไฟล์และส่วนขยาย
 DIR /Wแล้วกดปุ่ม Enter  ดูผลลัพธ์บนจอภาพ
4.54.5 ไดเร็กทอรี (Directory)
              เป็นเรื่องของการจัดเก็บไฟล์ให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการค้นหาไฟล์ต่างๆที่เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)ซึ่งเป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ไดเร็กทอรีเปรียบได้กับโฟลเดอร์ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในปัจจุบัน
-MD-DOS มีคำสั่งสำหรับจัดการไดเร็กทอรี 3 คำสั่ง คือ MD,CD และRD
    1.MD (Make Directory) การสร้างไดเร็กทอรีย่อย
    2.CD (Change Directory) การเปลี่ยนเข้าไปในไดเร็กทอรีย่อย
    3.RE (Remove Directory) การลบไดเร็กทอรีย่อย
ตัวอย่างการสร้างไดเร็กทอรีย่อย
    1.ทำงานอยู่ที่ไดรฟ์D:\>_หรือไดรฟ์A:\>_ก็ได้
    2.พิมพ์คำสั่ง md games แล้วกดปุ่ม Enter
    3.พิมพ์คำสั่ง cd games แล้วกดปุ่ม Enter
    4.เครื่องหมายพร้อยท์จะเปลี่ยนเข้าไปใช้งานไดเร็กทอรี       ย่อยชื่อ games
    5.พิมพ์คำสั่งcd1 เพื่อออกจากส่วนย่อย 1 ขั้น
    6.พิมพ์คำสั่ง rd games เพื่อลบไดเร็กทอรีย่อย
4.6 แบตช์ไฟล์ (Batch File)
เป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งของ MS-DOS เรียงกันเป็นบรรทัด ๆ เพื่อให้ดอสอ่านมาทำงานตามลำดับที่ละคำสั่งอัตโนมัติ จากการเรียกแบตช์ไฟล์เพียงครั้งเดียวแทนการป้อนคำสั่งที่ละคำสั่ง แบตช์ไฟล์จะมีส่วนขยายไฟล์จุด BAT
                         ไฟล์Autoexec.Bat เป็นแบตช์ไฟล์พิเศษ ปกติเมื่อเปิดเครื่อง ถ้าพบไฟล์นี้จะทำคำสั่งในไฟล์พิเศษนี้เป็นอันดับแรก เดิมการใช้เครื่องมีการนำเมนูหรือภาพต่างๆมาแสดงก่อนเข้าสู่โปรแกรมวินโดวส์ หรือโปรแกรมระบบปฏิบัติการดอส ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว ทดลองใช้
ตัวอย่างคำสั่งแบตช์ไฟล์ ( Batch File )
1.พิมพ์คำสั่ง Copy con test.bat แล้วกดปุ่ม Enter
2.พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้
3.กดปุ่มF6 คือ^Z
4.บันทึกไฟล์ข้อมูล
5.พิมพ์คำสั่งว่า Test กดปุ่ม Enter ดูผลที่ได้บนจอภาพ
2.การใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการแบบกราฟิกโหมด
วินโดวส์ (Windows) คือ ระบบปฏิบัติการ(Operating System) แบบกราฟิกโหมดยอดนิยมตัวหนึ่งของโลก ซึ่งจะต้องติดตั้งในคอมพิวเตอร์ก่อนการติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ การทำงานใช้รูปภาพแทนคำสั่งหรือที่เรียกศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ว่า GUI (Graphic User Interface) ทำให้การศึกษาหรือการใช้งานง่าย รวดเร็วและมีสีสันน่าใช้มากขึ้น
                            พัฒนาการของวินโดวส์ เริ่มตั้งแต่เวอร์ชั่น 3.0 พัฒนาเรื่อยมาเป็น3.1,3.11 for workgroup, 95,98,2000, Windows ME,Windows XP, Windows VistaWindows7, Windows 8, Windows Blue (เป็นตัวอัพเกรดของ Windows 8)และ Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์www.mawtoload.com/ Windows -10 full-one2up/

 ได
เร็กทอรี (Directory)
              เป็นเรื่องของการจัดเก็บไฟล์ให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการค้นหาไฟล์ต่างๆที่เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)ซึ่งเป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ไดเร็กทอรีเปรียบได้กับโฟลเดอร์ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในปัจจุบัน
-MD-DOS มีคำสั่งสำหรับจัดการไดเร็กทอรี 3 คำสั่ง คือ MD,CD และRD
    1.MD (Make Directory) การสร้างไดเร็กทอรีย่อย
    2.CD (Change Directory) การเปลี่ยนเข้าไปในไดเร็กทอรีย่อย
    3.RE (Remove Directory) การลบไดเร็กทอรีย่อย
ตัวอย่างการสร้างไดเร็กทอรีย่อย
    1.ทำงานอยู่ที่ไดรฟ์D:\>_หรือไดรฟ์A:\>_ก็ได้
    2.พิมพ์คำสั่ง md games แล้วกดปุ่ม Enter
    3.พิมพ์คำสั่ง cd games แล้วกดปุ่ม Enter
    4.เครื่องหมายพร้อยท์จะเปลี่ยนเข้าไปใช้งานไดเร็กทอรี       ย่อยชื่อ games
    5.พิมพ์คำสั่งcd1 เพื่อออกจากส่วนย่อย 1 ขั้น
    6.พิมพ์คำสั่ง rd games เพื่อลบไดเร็กทอรีย่อย
1.       คุณสมบัติของเครื่องที่ใช้กับ Windows 7
1.1                  CPU 1 กิกะเฮิร์ตซ์ (GHZ) ขึ้นไป แบบ 32 บิต (x86x) หรือ 64 บิต (x64)
1.2                  Ram (32บิต) 1 กิกะไบต์ หรือ Ram (64บิต) 2GB
1.3                  การ์ดแสดงผลความละเอียด 800*600
1.4                  อุปกรณ์แสดงผล Direct*9 พร้อมโปรแกรมควบคุม WDDM 1.0 หรือสูงกว่า
1.5                  เนื้อที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ 16GB (32 บิต) หรือ 20GB (64บิต)
2.       เปิดคอมพิวเตอร์ จะเข้าสู่ Windows โดยอัตโนมัติ
2.1ปรากฏเดสก์ทอปมาตรฐานหน้าแรกของวินโดวส์ 7
2.2 ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอวินโดวส์
1. เดสก์ทอป (Desktop) พื้นที่ทั้งหมดบนจอภาพ
2. ปุ่มสตาร์ท (Start) ปุ่มเก็บเครื่องมือของการใช้งาน การเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ
3. ไอคอน (Icon) รูปภาพที่ใช้แทนโปรแกรมหรือเอกสาร หรือโฟลเดอร์
4. ทาสก์บาร์ (Taskbar) แถบเครื่องมือ หรือแถบงานแสดงโปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่
2.3 ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer)
1.    เมาส์รูปลูกศร (Arrow Mouse Pointer) ใช้เลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2.    เมาส์รูปรอคอย (Waiting Mouse Pointer) คอยขณะที่โปรกแกรมทำงานอยู่
2.4   การใช้เมาส์ (Using Mouse)
1.    คลิก (Click) กดปุ่มซ้าย 1 ครั้ง
2.    ดับเบิลคลิก (Double Click) กดซ้ายติดกัน ครั้ง
3.    คลิกขวา (Right Click) กดปุ่มเมาส์ขวา 1 ครั้ง ปรากฏเมนูลัด (Popup Menu หรือ Shortcut  Menu)
4.       ลากแล้วปล่อย (Drag and Drop) กดปุ่มซ้ายค้างไว้ ลากไปตำแหน่งใหม่แล้วปล่อย
ตัวอย่างการใช้เมาส์(Using Mouse)
1.คลิกเมาส์ไอคอนใดก็ได้ค้างไว้ลากไปทางขวาแล้วปล่อยเมาส์ ไอคอนเลื่อนชิดซ้าย
2.คลิกขวาที่เดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด
3.คลิกที่View
4.คลิกที่ Auto Arrange Icons ให้ไม่มีเครื่องหมายถูก ไอคอนสามารถเลื่อนวางตำแหน่งใดก็ได้
5. คลิกเมาส์ที่ไอคอนค้างไว้ เลื่อนไปทองขวาแล้วปล่อยเมาส์ สังเกตผลที่ได้ (ถ้าคลิกที่ที่ Auto Arrange Icons ซ้ำ ทำเพื่อจัดไอคอนให้อยู่ชิดซ้ายเดสก์ทอป ไอคอนจะเลื่อนไม่ได้)
2.5 การคอมพิวเตอร์ (Shut down)
1.คลิกปุ่ม Start
2.คลิก Shut down (ปิดเครื่อง)
3.หรือคลิกลูกศร ปุ่ม Shut down จะปรากฏเมนูรายการต่างๆ
-Switch user สลับการเข้าใช้งานของผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
-Log off จบการทำงานทั้งหมดและบันทึกข้อมูลผู้ใช้คนเดิมและเข้าสู่การเลือกเข้าใช้งานจากผู้ใช้คนใหม่
-Lock ล็อกการทำของเครื่อง หากต้องการหยุดการทำงานชั่วคราวแต่ทำงานค้างอยู่ Windows มีหน้าต่างล็อกออนสามารถสามารถพิมพ์รหัสผ่านเพื่อกลับมาใช้งานต่อได้ด้วยคำสั่ง Lock
-Restsrt ปิดการใช้งานวินโดวส์ และทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์เพื่อบูตวินโดวส์ใหม่
-Sleep พักการทำงานเครื่องชั่วคราวในโหมดประหยัดพลังงาน โดยปิดหน้าจอหยุดฮาร์ดดิสก์ และพัดลม แต่เครื่องยังไม่ปิดจริง หากกลับมาทำงานให้กดสวิตช์เพาเวอร์เครื่องหรือคีย์ใดก็ได้
-Hibernate บันทึกการทำงานก่อนปิดเครื่อง และเมื่อเปิดเครื่องใช้งานขึ้นใหม่วินโดวส์จะดึงการทำงานที่บันทึกไว้กลับมาให้ใช้งานต่อได้ทันที
2.6 การตั้งค่าและแสดงผลทาสก์บาร์ (Taskbar)
        1. คลิกขวาทาสก์บาร์(Windows 7 ทาสก์บาร์จะใหญ่กว่าเดิมซึ่งมีชื่อว่า Super dar)
        2. คลิกที่ Properties
        3. ปรากฏหน้าต่าง Taskbar and Start Menu Properties
        4. คลิกเครื่องหมาย หน้า Lock the Taskbar
        5. คลิกปุ่ม Apply สังเกตที่ทาสก์บาร์จะถูกล็อกไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (หากต้องการเคลื่อนย้ายให้ยกเลิกการล็อกโดยเครื่องหมายLock the Taskbar)

6.คลิกเครื่องหมาย  หน้า Auto-hide the Taskbar
7.คลิกปุ่ม Apply และสังเกตที่ทาสก์บาร์(ถ้าเลื่อนเมาส์ขึ้นที่ทาสก์บาร์จะถูกซ่อน ถ้าเลื่อนเมาส์มาด้านล่างจะแสดงทาสก์บาร์)
 8.คลิกเครื่องหมาย   หน้า use small icons
9.คลิกปุ่ม Apply  และสังเกตที่ทาสก์บาร์(ไอคอนที่ทาสก์บาร์และแถบทาสก์บาร์จะเล็กลง หากต้องการให้เหมือนเดิมให้คลิกเครื่องหมาย  หน้า use small icons  ออกเพื่อปรับค่าเหมือนเดิม
2.7วิธีเรียกการใช้งานโปรแกรม
1.คลิกปุ่ม Start หรือกดปุ่มที่คีย์บอรด์ Ctrl+ESC ปรากฏแถบ Start Menu
2.คลิกที่All Programs
3.คลิกที่ Microsoft Office
4.คลิกที่โปรแกรม Microsoft Word 2010 หรือรุ่นที่สูงกว่า
5.รอสักครู่หน้าต่างโปรแกรม Microsoft Office Word เปิดใช้งาน
6.เรียกใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel
7.เรียกใช้โปรแกรม Microsoft Office Power point
8.คลิกที่ปุ่ม× ปิดออกจากโปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่ (ให้ปิดทุกหน้าต่างและทำงานอยู่ที่เดสก์ทอป)
2.8 การเลือกและสลับหน้าต่างของโปรแกรม
        1.เปิดโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาทำงานพร้อมกัน 3 โปรแกรมเช่น  Word,Excel, Powerpoint
        2.ใช้เมาส์คลิกที่ชื่อหน้าต่างโปรแกรมที่ต้องการบนทาสก์บาร์ (Taskbar) หรือกดปุ่มAlt+ Tab(กดปุ่มAlt ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Tab หนึ่งครั้งเพื่อเลือกโปรแกรม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ)
2.9 ส่วนประกอบต่างๆ ของหน้าต่างวินโดวส์ 7
โปรแกรมมีลักษณะสำคัญ คือ แสดงผลของโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆในกรอบสี่เหลี่ยมย่อยๆโดยมีส่วนประกอบเหมือนๆกัน ดังนี้ คือ
1.ดับเบิลคลิกไอคอน Computer บนเดสก์ทอป
2.จะปรากฏหน้าต่างของไอคอน Computer
3.ปุ่มเครื่องมือบนหน้าต่างวินโดวส์  
                      
(Minimize) ย่อหน้าต่างวินโดวส์พักไว้ที่ทาสก์บาร์
             (Minimize) ขยายเต็มจอภาพ ปุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็น
                        ปุ่ม Restore Down 
(Close) ปิดออกจากโปรแกรม หรือกดAlt+F4
4.เมนูบาร์ หรือเมนูคำสั่ง(Menu Bar) แสดงคำสั่งที่
ใช้ในการทำงานของโปรแกรม
5.ทูลบาร์ (Toolbar) แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มคำสั่งต่างๆ
6.ไอคอน(Icon) ไอคอนต่างๆของหน้าต่างComputer
7.สโครลบาร์(Scroll Bar) แถบเลื่อนดูข้อมูลมี 2ด้านแนวตั้งและแนวนอน
8.สโครลบ็อกซ์ (Scroll Box) ปุ่มสี่เหลี่ยมบนแถบ

2.10 การย่อขยายหน้าต่างวินโดวส์
        1.เลื่อนเมาส์วางเส้นขอบด้านใดก็ได้ จะปรากฏลูกศร 2หัว
        2.คลิกค้างไว้ลากทแยงขึ้น เพื่อย่อยหน้าต่างวินโดวส์
        3.คลิกเมาส์ค้างไว้ ลากทแยงลง เพื่อขยายหน้าต่างวินโดวส์
        4.คลิกเมาส์ที่ไตเติ้ลบาร์ค้างไว้ เพื่อย้ายหน้าต่างไปมา
2.11 การใช้ปุ่ม Start Menu และ Taskbar
1.คลิกปุ่ม Start Menu จะปรากฏคำสั่งและชื่อโปรแกรมต่างๆ
2.คลิก All Programs แสดงชื่อของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง
3.Recent Use แสดงรายชื่อของโปรแกรมสำหรับปรับตำแหน่งWindows 7
5. Search ค้นหาไฟล์/โฟลเดอร์/สิ่งต่างๆที่เก็บภายในคอมพิวเตอร์
6. Help and Support คำแนะนำการใช้คำสั่งต่างๆบนวินโดวส์
7.Pinned Icon ปักหมุดโปรแกรมที่เรียกใช้งานบ่อยๆไว้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานแต่ละคน
8.Devices and Printers คำสั่งสำหรับดูรายชื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อใช้งาน
9.Default Programs คำสั่งกำหนดให้โปรแกรมใดเป็นโปรแกรมหลักสำหรับการเรียกใช้งานไฟล์ข้อมูลต่างๆ
10.Shut down คำสั่งปิดออกจากโปรแกรมวินโดวส์
2.12 การย้ายทาสก์บาร์
1.เลื่อนเมาส์มาว่างบนที่ว่างของทาสก์บาร์
2.คลิกเมาส์ค้างไว้ ลากไปทางด้านขวา/ด้านซ้าย/ด้านล่าง แล้วปล่อยเมาส์
3. ดึงเส้นขอบของทาสก์บาร์ เลื่อนลูกศรวางที่เส้นขอบ
4. คลิกค้างไว้ ดึงเลื่อนขึ้นและลงตามต้องการเพื่อขยายขนาดของทาสก์บาร์
2.13 การเปลี่ยนภาษาบนทาสก์บาร์ (Taskbar)
            ก่อนเปลี่ยนภาษาให้ดับเบิลคลิกไอคอน Computer เพื่อปิดหน้าต่างใช้งานหรือเปิดโปรแกรมใดก็ได้บนจอภาพ
1.       คลิกที่ปุ่มหรือบนทาสก์บาร์ ปรากฏเมนูให้เลือกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
2.       กดปุ่ม ~ บนคีย์บอร์ดเพื่อสลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
วิธีปรับให้ปุ่ม ~ สลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
1.       คลิกขวาที่ปุ่มหรือ
2.       ปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Setting
3.       ปรากฏหน้าต่าง Text Services and Input Languages
4.       คลิกปุ่ม Change Key Sequence…
5.       คลิกแท็บ Advanced Key Setting
6.       คลิกวงกลม Grave Accent ช่อง Switch Input Languages
7.       คลิกที่ปุ่ม OK
8.       คลิกปุ่ม OK (ออกจากการตั้งค่า)
2.14 การปรับระดับเสียง
            1. คลิกที่ปุ่มบนทาสก์บาร์
            2. ปรากฏแถบระดับเสียง คลิกเลื่อนสโครลบาร์
            3. หากคลิกที่จะมีสัญลักษณ์ ห้าม เสียงจะไม่ดัง 
2.15 การปรับวันและเวลา
            1. ดับเบิลคลิกที่ตัวเลขเวลาบนทาสก์บาร์
            2. ปรากฏหน้าต่าง วันและเวลา
            3. คลิกที่ลูกศรเลือกเดือน และปี ค.ศ.
            4. คลิกเลือกวันที่ตามปฏิทิน
            5. คลิก Change date time setting…
6. คลิกปุ่ม Change date and time…
7. เลือกตัวเลขให้มีแถบสี พิมพ์เลขใหม่ เช่น 12:12:01 (ชั่วโมง:นาที:วินาที)
8. คลิกที่ปุ่ม OK
2.16 การเลือกใช้โซนประเทศที่ใช้โปรแกรมวินโดวส์
1. คลิกปุ่ม Change time zone
2. ปรากฏหน้าต่าง Time Zone Setting
3. เลือก (UTC+07:00Bangkok, Hanoi, Jakarta
4. คลิกปุ่ม OK
2.17 แสดง / ซ่อนไอคอนบนทาสก์บาร์
1. คลิกขวาที่ทาสก์บาร์
2. คลิกที่ Properties
3. ปรากฏหน้าต่าง Taskbar and Start Menu Properties
4. คลิกที่ปุ่ม Customize.. เลือกซ่อนไอคอนที่อยู่ด้านขวาของทาสก์บาร์ ถ้ามีมากสั่งซ่อนบางไอคอนได้
5. คลิกไอคอนที่ต้องการซ่อนให้มีแถบสี คลิกลูกศร เลือก Always Hide เพื่อซ่อนไอคอนนี้
6. คลิกที่ปุ่ม OK
2.18 การปรับแต่งเดสก์ทอป (Destop)
            การปรับแต่พื้นหลังของเดสก์ทอป จะทำงานกับส่วนที่เรียกว่า Personalization เป็นการแสดงรูปแบบ 3 มิติ มีขั้นตอนดังนี้
1.       คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Personalize
2.       ปรากฏหน้าต่าง Personalization
3.       ความหมายหน้าต่างๆ Personalization
a.       Themes :กำหนดรูปแบบหน้าตาของ Windows โดยรวม
b.       Desktop Background : กำหนดรายละเอียดพื้นหลังของเดสก์ทอป โดยนำภาพที่อื่นมาใช้เป็นฉากหลังได้ ซึ่งเรียกว่า วอลเปเปอร์ (Wallpaper)
c.       Windows Color : กำหนดสีให้กับส่วนต่างๆ เช่น ปรับกอบ สีสัน และปุ่มกดของ Windows
d.       Sounds : ปรับแต่งการแสดงเสียงในการทำงานกับ Windows
e.       Screen Saver : แสดงภาพพักหน้าจอ เวลาไม่ใช้งานเครื่องเป็นเวลานาน ๆ
f.        Display : ปรับแต่งความละเอียดและสีจอภาพ

1.       4.  เลือกรูปแบบ Themes  มีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบ Aero Themes และแบบ Basic and High Contrast มีขั้นตอนดังนี้
1.       คลิกขวาพื้นว่างบนเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด เลือก Personalize
2.       คลิกเลือกรูปแบบธีม (Themes) ที่ต้องการและสังเกตภาพที่ได้บนเดสก์ทอป
3.       แสดงภาพเดสก์ทอป Themes แบบ Aero Architecture and Aero Characters
4.       แสดงภาพเดสก์ทอป Themes แบบ Basic and High Contrast รูปแบบนี้ตัดการแสดงผลแบบ 3 มิติออกไป ลองคลิกเลือก และแสดงภาพบนเดสก์ทอป
2.19 การปรับและเลือกภาพพักหน้าจอ (Screen Saver)
            ภาพพักหน้าจอ คือ โปรแกรมที่แสดงภาพต่าง ๆ ขึ้นมา เวลาเปิดเครื่องทิ้งไว้ และไม่ได้ใช้งานนานๆ เพื่อกันสารเรืองแสงบนจอภาพ เกิดเป็นรอยดำเนื่องจากแสดงภาพเดิมอยู่นาน
1.       
คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Personalize
2.       คลิก
3.       คลิกเลือกสกรีนเซฟเวอร์ที่ต้องการ
เช่น เลือก Photos
4.       คลิกปุ่ม Settings เพื่อใช้ปรับลูกเล่นต่างๆ
ของสกรีนเซฟเวอร์ แต่ละชื่อมีการปรับแต่งไม่เหมือนกัน
หรือบางชื่ออาจไม่มีการปรับแต่งเลย
5.       คลิกที่ปุ่ม Preview เพื่อดูตัวอย่างตั้งสกรีน
เซฟเวอร์ที่เลือกไว้ (หากขยับเมาส์หรือกดคีย์ใดๆ
บนคีย์บอร์ดก็จะหยุดการแสดงตัวอย่าง)

1.       พิมพ์ตัวเลขหรือคลิกที่ลูกศร
กำหนดเวลาว่ากี่นาทีหลังจากที่ไม่ได้ใช้งานให้แสดงภาพ
2.       คลิกเครื่องหมายถูกเพื่อป้องกันผู้อื่นมา
ใช้เครื่องขณะไม่ได้ทำงาน ถ้ากดคีย์ใดๆ ต้องใส่
User name และ Password
3.       คลิกที่ปุ่ม Apply
4.       คลิกที่ปุ่ม OK
2.20 การปรับและเลือกภาพพักหน้าจอแบบข้อความ
            1. คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Properties
            2. คลิก
            3. คลิกที่ Screen Saver เลือก 3D Text
            4. คลิกที่ปุ่ม Setting
            5. ปรากฏหน้าต่าง 3D Text Setting
            6. เลือกข้อความช่อง Custom Text ให้มีแถบสี
พิมพ์ชื่อนักเรียนแทนข้อความเดิม
            7. คลิกปุ่ม Choose Font เลือกแบบตัวอักษร
            8. ปรับการเคลื่อนไหว Rotation Type :
            9. เลื่อนสโครลปรับความละเอียด
ขนาดและความเร็วของตัวอักษร
            10. คลิกที่ปุ่ม OK
            11. คลิกที่ปุ่ม Preview แล้วปล่อยเมาส์จะได้
ข้อความวิ่งบนหน้าจอ
   
            12. คลิกที่ปุ่ม OK
2.21 แสดงโปรแกรม Gadgets บนเดสก์ทอป  หน้าจอเดสก์ทอป สามารถแสดงโปรแกรมเล็กๆ ที่เรียกว่า Gadgets เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข โปรแกรมดูดิน ฟ้า อากาศ โปรแกรมดูราคาตลาดหุ้น เป็นต้น (สามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติม Gadgets ใหม่ๆ ได้)
1.       คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิก Gadgets
2.       เปิดหน้าต่าง Gadgets
3.       คลิกลาก Gadgets ที่ต้องการมาวางบนเดสก์ทอป ดังตัวอย่าง Gadgets ที่เปิดใช้งาน นาฬิกา ปฏิทิน และโปรแกรมดิน ฟ้า อากาศ
4.       สามารถปรับแต่งค่าในรูปแบบต่างๆ ของ Gadgets ได้ คลิกปุ่ม Options ด้านข้างนาฬิกา เพื่อตั้งชื่อนาฬิกา หรือเลือกเขตเวลาได้ และคลิกปุ่ม OK
5.       ตั้งชื่อนาฬิกาหรือเลือกเขตเวลา
6.       คลิกปุ่ม OK
7.       ส่วนดาวน์โหลดออนไลน์ Get more gadgets online ไม่พร้อมใช้งานอีกต่อไปบนเว็บไซต์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแก็ดเจ็ตและขั้นตอนที่สามารถทำได้เพื่อปกป้องพีซีที่เว็บไซต์ http://windows.microsoft.com/th-TH/windows/gedgets
8.       หากต้องการปิดการใช้งานแก็ดเจ็ต (Gadgets) คลิกปุ่ม X (Close)
2.20 การปรับเปลี่ยนสีสันบนเดสก์ทอป
            ส่วนประกอบต่างๆ บนหน้าต่างวินโดวส์ หรือเรียกว่าไดอะล็อกบ๊อกซ์ ให้เป็นแบบที่ต้องการได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.       คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิก Personalize
2.       คลิกเลือก  Window Color Sky
3.       คลิกเลือกสีเพื่อนเปลี่ยนกรอบหน้าต่าง
4.       ปรับกรอบหน้าต่างโปร่งใส
5.       ปรับความเข้มของกรอบหน้าต่างเมื่อเลือกให้กรอบโปร่งใส
6.       คลิก Show Color Mixer(ปรับเลือกสีตามต้องการ)
7.       คลิกปุ่ม Save Changes
8.       คลิก Advanced appearance Setting(เลือกใช้สไตล์สำเร็จรูปของ Windows)
9.       หน้าต่าง Window Color and Appearance
10.       คลิกภายในกรอบตรงที่ส่วนที่ต้องการปรับตามต้องการ
2.23 การปรับความละเอียดของสีและจอภาพ
            กำหนดรายละเอียดและสีของจอภาพในการแสดงผล เช่น จำนวนสี ความละเอียดของจอภาพ ขนาดตัวอักษรที่ใช้
1.       คลิกขวาที่พื้นเดสก์ทอป ปรากฏเมนูลัด คลิกเลือก Screen resolution
2.       ปรากฏหน้าต่าง Change the appearance of your display
3.       ปรับ Resolution ความละเอียดของจอภาพที่ต้องการ
4.       คลิกปุ่ม OK
2.24 การจัดการไอคอนโปรแกรมและเมนูในปุ่มสตาร์ท (Start)
            1. คลิกปุ่ม Start
            2. เมนูหลัก และส่วนล่างไอคอน
            3. คลิกที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการเพิ่มในเมนูหลัก
            4. คลิกขวาที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการเพิ่มคลิกที่ Pin to Start Menu จะได้ผลลัพธ์oCam บนเมนูหลัก
การลบโปรแกรมหรือไอคอนต่างๆ ในปุ่ม สตาร์ท
1.       คลิกขวาที่โปรแกรมที่ต้องการลบบนเมนูหลัก
2.       ปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Unpin from Start Menu
สรุป
            โปรแกรมจัดระบบงาน (เอ็มเอสดอส : MS-DOS) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมดของบริษัทไมโครซอฟต์ ทำหน้าที่จัดระบบงานต่าง ๆ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการทำงานสูง ทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เครื่องได้สะดวกและง่ายขึ้น โปรแกรมจัดระบบงาน เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
            ส่วนประกอบหลักของโปรแกรมจัดระบบงาน (MS-DOS)
1.       ส่วนที่ควบคุมอุปกรณ์ (IO,SYS)
2.       ส่วนที่จัดการเกี่ยวกับคำสั่ง (MS-DO,SYS) จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรม
3.       ส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์รับ- ส่งข้อมูล (COMMAND.COM) รับคำสั่งจากผู้ใช้และส่งต่อให้โปรแกรมควบคุมเครื่องทำงาน โปรแกรมทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมระบบไมโครคอมพิวเตอร์
ประเภทของคำสั่งของโปรแกรมจัดระบบงาน มี 2 ประเภท คือคำสั่งภายใน (Internal Command) และคำสั่งภายนอก (External Command)
คำสั่งภายใน (Internal Command) หมายถึง คำสั่งที่เมื่อ Boot เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกใช้คำสั่งได้ทันที เช่น คำสั่ง DIR TYPE, DOPY, DEL, VER,VOL เป็นต้น
คำสั่งภายนอก (External Command) หมายถึง ไฟล์คำสั่งที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์ เวลาจะเรียกใช้คำสั่งภายนอกนี้จะต้องมีแผ่นดิสก์บรรจุไฟล์คำสั่งเหล่านี้อยู่ในเครื่องทุกครั้ง ไฟล์คำสั่งประเภทนี้มีนามสกุล .com, .exe เช่น คำสั่ง format.com, diskcopy.com, undelete.exe เป็นต้น
วินโดวส์ (Windows) คือระบบปฏิบัติการ (Operating System) แบบกราฟิก ยอดฮิตตัวหนึ่งของโลก ซึ่งจะต้องติดตั้งในคอมพิวเตอร์ก่อนการติดตั้งโปรแกรมอื่น การทำงานใช้รูปแบบภาพแทนคำสั่งหรือที่เรียกศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ว่า GUI(Graphic User Interface) ทำให้การศึกษาหรือการใช้งานง่าย รวดเร็ว และมีสีสันน่าใช้มากขึ้น
พัฒนาการของวินโดวส์ เริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 พัฒนาเรื่อยมาเป็น 3.1, 3.11 for workgroup. 95, 98, 2000, Windows me, Windows XP, Windows Vista, Windows 7, Windows 8, Windows Blue เป็นตัวอัพเกรดของ Windows8, Windows 9 และ Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์
ส่วนประกอบต่างๆ ของวินโดวส์ 7
1.       เดสก์ทอป (Desktop) พื้นที่ทั้งหมดบนจอภาพ
2.       ปุ่มสตาร์ท (Start) ปุ่มเก็บเครื่องมือของการใช้งานและการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ
3.       ไอคอน (Icon) รูปภาพที่ใช้แทนโปรแกรม หรือ เอกสาร หรือโฟลเดอร์
4.       ทาสก์บาร์ (Taskbar) แถบเครื่องมือ หรือแถบงานแสดงโปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่
ส่วนประกอบต่างๆ ของหน้าต่างวินโดวส์ 7 มีลักษณะสำคัญ คือ แสดงผลของโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ ในกรอบสี่เหลี่ยมย่อยๆ โดยมีส่วนประกอบเหมือนๆกัน ดังนี้
ปุ่มเครื่องมือบนหน้าต่างของวินโดวส์
1.            (Mimimize) ย่อหน้าต่างวินโดวส์พักไว้ที่ทาสก์บาร์
2.            (Maximize) ขยายเต็มจอภาพ ปุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็นปุ่ม Restore Down
3.            (Close) ปิดออกจากโปรแกรม หรือกด Alt+F4
4.       เมนูบาร์ หรือเมนูคำสั่ง (Menu Bar) แสดงคำสั่งที่ใช้ในการทำงานของโปรแกรม
5.       ทูลบาร์ (Toolbar) แถบเครื่องมือที่รวบรวมปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
6.       ไอคอน (Icon) ไอคอนต่างๆ ของหน้าต่าง Computer
7.       สโครลบาร์ (Scroll Bar) แถบเลื่อนดูข้อมูล มี 2 ด้าน แนวตั้งและแนวนอน
8.       สโครลบ๊อกซ์ (Scroll Box) ปุ่มสี่เหลี่ยมบนแถบเลื่อน
9.       สโครลแอโร่ (Scroll Arrow) ปุ่มลูกศรของแถบเลื่อน

https://www.youtube.com/watch?v=RshOqOFo0HQ


                                                  









































ความคิดเห็น